รอยช้ำตามแขนขาเกิดจากอะไร ชาวบ้านเชื่อเพราะ ‘พรายย้ำ’
March 1, 2022บ่อยครั้งที่คนเรามักพบว่าตามเรือนร่างของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นแขน ขา หรือลำตัว มักมีรอยเขียวช้ำเป็นจ้ำ ๆ ขึ้นมาแบบไม่รู้สาเหตุ นึกไปนึกมาก็ไม่ได้ไปเตะหรือขนเฉี่ยวกับอะไร แต่รู้หรือไม่ว่าบางครั้งสิ่งเหล่านี้อาจกำลังเป็นสัญญาณบอกโรคร้ายหรือความผิดปกติบางอย่าง แต่หลายคนกลับมุ่งไปที่ความเชื่อของ ‘พรายย้ำ’ วันนี้เรามาดูกันว่าอะไรคือความจริงกันแน่
รอยช้ำเขียวที่เกิดขึ้นเป็นเพราะโรค หรือพรายย้ำ?
คนไทยกับเรื่องความเชื่อเรื่องผีเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาช้านาน โดยหนึ่งในความเชื่อที่ว่านั่นคือเรื่องของ “พรายย้ำ” ที่หมายถึง รอยดำ ๆ คล้ายกับถูกอะไรกัดจนเป็นรอยช้ำ ที่ปรากฏอยู่ตามร่างกายเป็นแห่ง ๆ ไม่ได้มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด โบราณจะถือว่าเป็นร่องรอยที่ถูกผีพรายกัดย้ำเอาแต่ไม่ถึงขั้นเป็นแผลที่เจ็บปวด สาเหตุที่มีความเชื่อนี้เกิดขึ้น เป็นเพราะเมื่อครั้งโบราณที่มนุษย์ต้องตกอยู่ในอาการเจ็บป่วยและล้มตายแบบไม่รู้สาเหตุ ผีมักถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องหมายของความเลวร้ายที่เป็นตัวการทำให้มนุษย์ต้องเจ็บป่วยหรือตายไป

รอยช้ำเขียวที่เกิดขึ้นเป็นเพราะโรค หรือพรายย้ำ
แต่ในความเป็นจริงแล้วภาวะเป็นจ้ำเลือดหรือมีรอยฟกช้ำง่าย บางครั้งอาจเป็นแค่ร่องรอยจากอุบัติเหตุที่เราไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะมาจากการนอนหลับผิดท่าหรือการใชชีวิต แต่หากเมื่อไหร่ที่มีรอยช้ำเกิดขึ้นแบบที่ไตร่ตรองดูแล้วว่าไม่น่าจะไปโดนของแข็งมา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่านั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่างที่ร่างกายต้องการให้เราทราบ โดยโรคหรือภาวะผิดปกติที่อาจทำให้เกิดรอยฟกช้ำหรือเป็นจ้ำเลือดได้ง่าย จะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะด้วยกัน ดังนี้
1. เกิดจากความผิดปกติของผนังเส้นเลือดฝอย หรือการที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อข้างเคียงที่ช่วยปกป้องเส้นเลือดบางลง ทำให้เส้นเลือดเปราะแตกง่าย สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น
- ผู้สูงอายุที่ชั้นผิวหนังและชั้นใต้ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลงบางลงตามวัย
- การขาดวิตามินบางชนิด
- การใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์
2. ความผิดปกติของเกร็ดเลือดทำให้มีภาวะเกร็ดเลือดต่ำหรือเกร็ดเลือดทำงานผิดปกติ เช่น
- โรคเกร็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกัน
- การติดเชื้อบางอย่าง
- ภาวะที่ไขกระดูกทำงานบกพร่อง โรคไขกระดูกฝ่อ
- การรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานหรือปริมาณของเกร็ดเลือด การรับยาเคมีบำบัด
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว
3. ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น
- การขาดวิตามินเค
- การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- โรคฮีโมฟีเลีย
วิธีปฐมพยาบาลรอยช้ำเบื้องต้น
คุณสามารถเริ่มต้นการปฐมพยาบาลรอยช้ำได้ด้วยตัวเอง เริ่มจากการประคบเย็นตรงรอยฟกช้ำภายใน 48 ชั่วโมงหลังได้รับบาดเจ็บ และประคบเย็นซ้ำ 3 ครั้งต่อวัน ครั้งละประมาณ 10 – 20 นาที เมื่อเริ่มหายบวมแล้วให้ค่อย ๆ ประคบร้อนที่รอยฟกช้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้รอยช้ำหายได้ไวขึ้น และเพื่อความสบายใจสามารถหาผ้ายืดมาพันทับแผลฟกย้ำเอาไว้ เพื่อช่วยฟื้นฟูความยืดหยุ่นของอวัยวะส่วนนั้นได้
ทั้งนี้หากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ แนะนำให้เข้าพบแพทย์โดยด่วน เพราะรอยช้ำนั้นอาจไม่ใช่รอยช้ำธรรมดา แต่อาจเกิดการพลิกของเส้นเอ็น หรือกระดูกหักก็เป็นได้ ดังนั้นจึงควรให้แพทย์ทำการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงจะดีที่สุด และบางครั้งความผิดปกติหรือรอยช้ำที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นมาจากความไม่ระวังตัวเอง หรือความซุ่มซ่ามเพียงอย่างเดียว แต่บางทีร่างกายอาจกำลังส่งเสียงให้คุณได้ยินว่าระบบภายในร่างกายกำลังมีปัญหา และอาจมีความรุนแรงมากกว่าที่คิด ดังนั้นคุณจึงควรซื้อประกันสุขภาพติดตัวเอาไว้กันเหนียว เพราะหากเกิดเรื่องใด ๆ ขึ้นมาคุณสามารถมั่นใจได้เลยว่าจะต้องได้รับการรักษาที่ดี ได้รับการชดเชยรายได้ และไม่ต้องคอยพะวงหน้าพะวงหลังว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่ดีแล้วคนข้างหลังจะอยู่อย่างลำบาก